1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
(http://www.geocities.com/jitavitaya.htm) กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลมาจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาสะท้อน” การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของคนเพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อม ทางสถานการณ์ต่างๆ โดยสามายรถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่บุคคลได้ตั้งไว้
(http://th.wikipedia.org/wiki.htm) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaming theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยเรียนในห้อง ซักถามผู้ใหญ่ มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดขวดขัน หรือความไม่เป็นระเบียบวินัย ซึ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถเรียนได้จากกาสรได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนเป็นการกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นจากการฝึกฝนและประสบการณ์แต่ละคนที่ได้ประสบมา แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น