วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

1. ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร


(http://www.geocities.com/jitavitaya.htm) กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลมาจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาสะท้อน” การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของคนเพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อม ทางสถานการณ์ต่างๆ โดยสามายรถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่บุคคลได้ตั้งไว้

(http://th.wikipedia.org/wiki.htm) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaming theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยเรียนในห้อง ซักถามผู้ใหญ่ มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้ เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดขวดขัน หรือความไม่เป็นระเบียบวินัย ซึ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้นผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน


สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถเรียนได้จากกาสรได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนเป็นการกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นจากการฝึกฝนและประสบการณ์แต่ละคนที่ได้ประสบมา แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

2. มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

สันทัด สินธุพันธ์ประทุม (2548:78-84) ได้กล่าวถึงทฤษฎีกาสรเรียนรู้ มีดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้ (ร่วมสมัย)

สุเมน อมรวิวัฒน์ (2541:5) ได้กล่าวถึงแนวคิดใหม่ของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวติดพื้นฐานของกระบวนการการสอน ไว้ดังนี้

แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียน

- การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิต

- ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของการเรียนรู้

- ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและสัมพันธ์

- สาระที่สมดุลเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ คือ ความรู้ ความคิด ความสามารถ และความดี

ข้อความข้างต้น คือ ที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทฤษฎีมาจัดสาระและกระบวนการ เพื่อนำเสนอแก่ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครู แนวคิดและทฤษฎีที่กล่าวถึงได้แก่

1. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

4. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย : ศิลปะ ดนตรี กีฬา

5. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย : การฝึกฝน กาย วาจา ใจ

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข

ประเวศ วะสี (2541:27) ได้กล่าวถึงปัญหาการศึกษาไทยประการหนึ่ง คือการเรียนเป็นความทุกข์เพราะการเรียนยาก ไม่สนุก น่าเบื่อ ทำให้คนเกลียดการศึกษา นำไปสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นครูควรทำให้การเรียนรู้เป็นความสุข สนุก ชวนให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

กิติยวดี บุญซื่อ (2540:32-84) กล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นวิธีเรียนแบบใหม่ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนาน ผู้เรียนมาเรียนด้วยความตื่นเต้น และมุ่งมั่น ทฤษฎีนี้กล่าวถึงการเรียนที่มีความสุขว่ามีองค์ประกอบอยู่ 6 ประการ ได้แก่

1. เด็กแต่ละคนได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีหัวใจและสมองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

2. ครูให้ความเมตตา จริงใจ และอ่อนโยนต่อเด็กทุกคนโดยทั่วถึง ครูเอาใจใส่เท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม

3. เด็กเกิดความรัก และภูมิใจในตนเอง รู้จักปรับตัวได้ทุกที่ทุกเวลาเห็นคุณค่าของชีวิตและความเป็นมนุษย์ของตน

4. เด็กแต่ละคนมีโอกาสเรียนตามความถนัดและความสนใจ

5. บทเรียนสนุก แปลกใหม่ จูงใจให้ติดตามและเร้าใจ อยากค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองในสิ่งที่สนใจ

6. สิ่งที่เรียนรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดประโยชน์และมีความหมายต่อตัวเขา

การจัดการเรียนการสอนที่ทำให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เกิดความสุขร่วมกันทั้งผู้เรียนผู้สอนควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. บทเรียนเริ่มจากง่ายไปยากโดยคำนึงถึงวุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียนแต่ละวัย

2. วิธีเรียนสนุก ไม่น่าเบื่อและตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียน

3. ทุกขั้นตอนของการเรียนรู้มุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิดในแนวต่างๆ รวมทั้งความคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์

4. มีกิจกรรมหลากหลาย สนุก ชวนให้ผู้เรียนสนใจเรียน

5. แนวการเรียนรู้สัมพันธ์และสอดคล้องธรรมชาติ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสัมผัสสิ่งรอบตัว

6. สื่อที่ใช้ประกอบการเรียน เร้าให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจตรงตามเป้าหมาย

7. การประเมินผล เน้นพัฒนาของผู้เรียนในภาพรวมมากกว่าผลเรียนทางวิชาการ

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนรวม

สุมณฑา พรหมบุญ (2540:1-74) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นทฤษฎีที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านจิตใจ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ได้รับการฝึกฝนทักษะต่างๆการแสวงหาความรู้ การคิด การจัดการความรู้

กระบวนการเรียนรู้ตัวอย่างที่นำมาเสนอมี 3 วิธี คือ

1. กระบวนการกลุ่ม(Grop process) เป็นกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กัน

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการกลุ่มได้แก่ เกม บทบาทสมมติ

บทบาทของครูในการสอน มีดังนี้

- มีความเป็นกันเอง เห็นอกเห็นใจผู้เรียน

- พูดน้อย เป็นเพียงผู้ประสานงาน ไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของผู้อื่น

- ให้กำลังใจ กระตุ้นให้ทำงานและแสดงออก

- สนับสนุนให้คิดวิเคราะห์ สรุปผล และประเมินผลการเรียนรู้

บทบาทของผู้เรียนมีดังนี้

- ลงมือทำกิจกรรม ทำความเข้าใจงานที่ทำ

- ช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

- รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตน

2. การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ ( Cooperative learning ) เป็นวิธีเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ความสำเร็จของกลุ่ม

หลักการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แรงร่วมใจคล้ายกับกระบวนการกลุ่ม แต่ต่างกันตรงที่การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจจัดกลุ่มผู้เรียนให้คละกันด้านความรู้ความสามารถ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนนำศักยภาพของตนมาเสริมสร้างความสำเร็จของกลุ่ม เทคนิคการจัดกิจกรรมการร่วมแรงร่วมใจ ได้แก่ การเล่าเรื่องรอบวง มุมสนทนา คู่ตรวจสอบ คู่คิด เป็นต้น

3. การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ ( Constructivism ) เป็นวิธีเรียนที่ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

บทบาทของครู คือ เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสรรค์สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

- ปฐมนิเทศให้ผู้เรียนสร้างจุดมุ่งหมายและแรงจูงใจในการทำงาน

- ทำความเข้าใจ ให้ผู้เรียนทำความเข้าใจบทเรียน

- จัดโครงสร้างแนวคิดใหม่ ให้ผู้เรียนนำเสนอแนวคิดให้กระจ่าง

- นำแนวความคิดไปใช้ ให้ผู้เรียนนำแนวความคิดไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ

- ทบทวน ให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองโดยเปรียบเทียบแนวความคิดของตน

ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

ทิศนา แขมมณี (2540:11-236) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นคำที่แสดงถึงพฤติกรรม คำในกลุ่มนี้เรียกว่า ทักษะความคิด มี 2 ระดับ

1.1 ทักษะการคิดพื้นฐาน

- ทักษะการสื่อความหมาย ได้แก่ การฟัง การจำ การอ่าน การรับรู้

- ทักษะแกน ได้แก่ การสังเกต การสำรวจ การตั้งคำถาม การตีความ การเชื่อมโยงความรู้

1.2 ทักษะการคิดขั้นสูง ได้แก่ การนิยาม การผสมผสาน การสร้าง การวิเคราะห์

กลุ่มที่ 2 เป็นคำแสดงลักษณะของการคิด ซึ่งไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน คำกลุ่มนี้เรียกว่าลักษณะการคิด เช่น คิดคล่อง คิดละเอียด

กลุ่มที่ 3 เป็นคำที่แสดงถึงการดำเนินกิจกรรมการคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน คำกลุ่มนี้ เรียกว่า กระบวนการคิด

ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย: ศิลปะ ดนตรี กีฬา

สุกรี เจริญสุข (2540:12-23) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ดนตรี กีฬา เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอน วิชา ศิลปะ ดนตรี และพลศึกษาแก่ครู

การเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี และพลศึกษาเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้สมบูรณ์ทุกด้าน ได้แก่

1. ด้านร่างกาย มีสุขภาพที่สมบูรณ์

2. ด้านจิตใจ และอารมณ์ มีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส

3. ด้านสติปัญญา มีทักษะทางศิลปะ ทักษะในการเล่นดนตรี

4. ด้านสังคม มีน้ำใจนักกีฬา

5. ด้านจริยธรรม ประพฤติดี

ดนตรีเป็นเรื่องของความไพเราะ ศิลปะเป็นเรื่องของความงาม กีฬาเป็นศิลปะของการเคลื่อนไหว

จะเห็นได้ว่าทั้งสามวิชานี้ มีธรรมชาติที่เหมือนกัน จึงมีทฤษฎีการเรียนรู้ 3 ส่วนร่วมกันคือ

- ทฤษฎีความเหมือน

- ทฤษฎีความแตกต่าง

- ทฤษฎีความเป็นฉัน

ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยการฝึกฝนกาย วาจา ใจ

อำไพ สุจริตกุล (2540:132-137) ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยการฝึกฝนกาย วาจา ใจ เป้าหมายของการพัฒนาสังคมไทยคือ การสร้างความสมดุลระหว่างความมั่งคั่งทางวัตถุ ความเจริญงอกงามทางจิตใจ และความอาทรต่อธรรมชาติเพื่อให้คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น สังคมสันติ

ลักษณะนิสัยเด็กไทยที่ต้องพัฒนามีดังต่อไปนี้

1. การมีมารยาทและวิถีแห่งการปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ขั้นพื้นฐาน
2. ความมีสติ สัมปชัญญะ เพื่อครองตน ไม่ถลำไปสู่ความชั่ว
3. ความมีคุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
           ความมีวินัย รู้ค่าแห่งการมีระเบียบ
           ความกล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง
           ความกตัญญู รู้คุณบรรพชน รู้คุณคน
           ความมีเมตตา รู้จักให้
           ความอดทน สู้งาน มีความมุ่งมั่นใฝ่สำเร็จ
           ความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว
           ความสามัคคี ประนีประนอม รักสันติ
           ความขยันหมั่นเพียร ไม่หวังแต่จะหาทางลัดในชีวิตการงาน
           ความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในตนเอง
           ความสันโดษรู้จักพอ ไม่ดิ้นรน แสวงหาจนลืมความเป็นมนุษย์
           ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เป็นคนวางก้าม
4. ความรักในเพื่อมนุษย์
5. ความรักในธรรมชาติ

การสร้างลักษณะนิสัยดังกล่าวต้องใช้กลยุทธ์การสอน ดังนี้

1. เทคนิคการฝึกสติและสมาธิแบบใหม่ๆ ที่เข้าถึงรสนิยมของเด็ก

2. การเรียนรู้ด้วยการเล่น การใช้เกม ละคร และกิจกรรมสนุกๆ ที่แฝงสาระและแง่คิดทางคุณธรรม จริยธรรม

3. การเรียนรู้จากชีวิตจริงด้วยกิจกรรมชุมชน กรณีตัวอย่าง การโต้วาที

4.การแนะแนวด้วยครูทุกคนที่ทำการสอน

5. การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเอาใจใส่เด็กเป็นรายบุคคล การพัฒนาสมุดรายงานลักษณะนิสัยที่ช่วยครูรู้รายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กสามารถป้องกันแก้ไขได้ถูกต้อง เหมาะสมและทันเวลา

สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ได้แก่

1. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยมีจุดประสงค์จะหาวิธีเรียนแบบใหม่ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนาน ทุกครั้งทุกชั่วโมง ผู้เรียนมาเรียนด้วยความตื่นเต้น และมุ่งมั่น อยากรู้ในสิ่งที่เขายังไม่รู้ อยากทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ และอยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จุดเน้นของการเรียนรู้ คือ การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านจิตใจ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยให้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ได้รับการฝึกฝนทักษะต่างๆ การแสวงหาความรู้ ความคิด การจัดการกับความรู้ การแสดงออก การสร้างความรู้ใหม่ และการทำงานกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข

3. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นแนวทางสำหรับครูนำไปใช้ฝึกผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในการคิด

4. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย ศิลปะ ดนตรี กีฬา จะเป็นการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง ดี มีสุข ซึ่งถือว่าเป็นคนที่มีสุขภาพของสังคม จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือ กาย ใจ และสติปัญญา (Hand-Heart-Head) โดยให้ผู้เรียนเรียนศิลปะ ดนตรี และพลศึกษา

5. ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย: การฝึกฝนกาย วาจา ใจ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาลักษณะนิสัยเด็กไทยโดยต้องมีการพัฒนามารยาทและการปฏิบัติตนความมีสติสัมปชัญญะ ความมีคุณธรรม ความรักในเพื่อนมนุษย์และรักธรรมชาติ

ทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 5 ทฤษฎีนี้นับได้ว่าเป็นแนวทางสำหรับครูในการนำไปจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพได้

นวัตกรรมคืออะไร

3.นวัตกรรมคืออะไร


บุญเกื้อ บุญถาวร (2542: 12-13) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่อยู่ที่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดีขึ้น

ทอมัส ฮิวซ์ (Thomas Hoghes) ได้ให้ความหมายนวัตกรรมว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนา ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

มอร์ตัน (Morton J.A.) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Organizing for innovation ว่า นวัตกรรม หมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ นวัตกรรมไปใช้ในการจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ว่า วิธีการปฏิบัติใหม่ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากกาสรคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

จรูญ วงศ์สายัณห์ ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใดๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรมได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งทำได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไปจนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ เช่น การปลูกฝีในวงการแพทย์ ทำเหล็กกล้าในวงการอุตสาหกรรม เป็นต้น

กิดานันท์ มลิทอง (2548: 16) กล่าวว่า นวัตกรรมเป็นแนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาส่งผลให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ หรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับยุคสมัยได้ เมื่อมีการนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยในการทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดและแรงงานได้ด้วย

หนูม้วน ร่มแก้ว (2545: 3) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง กิจกรรมใหม่ที่แปลกไปจากเดิม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมได้มาจาก การคิดค้นพบวีการใหม่ๆ หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่ เหมาะสมกับสถานการณ์ขึ้นมาแล้วนำไปทดลองปรับปรุง แก้ไขจนเป็นที่น่าพอใจ แล้วนำวิธีการนี้นำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้านำไปแก้ปัญหาทางด้านการแพทย์ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการแพทย์และถ้านำไปแก้ปัญหาทางการเรียนการสอนก็เรียกว่า นวัตกรรมการเรียนการสอน ในทำนองเดียวกันถ้านำไปแก้ปัญหาทางการศึกษาก็เรียกว่า นวัตกรรมทางกาสรศึกษา

สรุป

นวัตกรรม คือ การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาดัดแปลงเพิ่มเติมจากของเดิมที่มีอยู่ให้ทันสมัยและได้ผลประสิทธิภาพมากขึ้นและในขณะนั้นสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์สิ่งใหม่ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นและเหมาะสมกับยุคสมัยได้ ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร

4.นวัตกรรมทางการศึกษา คืออะไร


ดวงเดือน เทศวานิช (2530: 169) ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา ไว้ว่า เป็นการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงหรือเพื่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542: 14-15) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรมการศึกษา ได้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช (2549: 19) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมทางการศึกษา ไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา คือ ความใหม่ในการศึกษา อาจจะเป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษา เป็นทฤษฎีใหม่ เป็นวิธีการสอนใหม่ เทคนิคการสอนใหม่ รวมทั้งการนำเสนอสาระด้วยสื่อใหม่ๆ นวัตกรรมการศึกษาส่วนมากเกิดขึ้นในประเทศที่มีความเจริญมากๆ เช่น สหรัฐอเมริกา และหลายๆ ประเทศในยุโรป สำหรับการศึกษาไทยมีการนำนวัตกรรมของต่างประเทศมาใช้อยู่เสมอ โดยเฉพาะนวัตกรรมทางทฤษฎีการเรียนรู้และแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งนวัตกรรมด้าน IT ในขณะเดียวกันนั้นการศึกษาไทยก็ได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของไทยขึ้นเอง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมเชิงทฤษฎีหรือแนวคิดสำคัญทางการศึกษา รวมทั้งนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนที่มีทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้หรือแนวคิดทางการศึกษาของต่างประเทศเป็นพื้นฐาน

กิดานันท์ มลิทอง (2548:17) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมการศึกษา ไว้ว่า นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น ทั้งยังประหยัดเวลาในการเรียนอีกด้วย



สรุป

นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำเทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อแต่งเติมสิ่งที่มีอยู่เดิมในระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

5. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร


สหชาติ สรรพคุณ (2550:2) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี ไว้ว่า การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

หมูอ้วน ร่มแก้ว (2545:5) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำหลักการ ความคิด เทคนิควิธีการและความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้สูงขึ้น

กิดานันท์ มลิทอง (2543:1-2) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เทคโนโลยี” คนทั่วไปมักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเทคนิควีสมัยใหม่ เครื่องยนต์กลไกลหรืออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่มีระบบการทำงานยุ่งยากซับซ้อนและมีราคาแพง หรืออาจจะเป็นในแง่ของความรู้ระดับสูง ทฤษฎีหรือหลักการใหม่ๆ ที่นำไปใช้และสามารถช่วยการทำงานให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จากความเข้าใจดังกล่าวเป็นการมองเทคโนโลยีในแง่ของวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ อย่างไรก็ดี สถาบันและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้นิยามและความหมายของเทคโนโลยีไว้ต่างๆ กัน ดังนี้

- สารานุกรมเอ็นคาร์ท (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำ เทคโนโลยี ไว้ว่า “Technology” เป็นการที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ “Tekhne” หมายถึง ศิลปะหรืองานช่างฝีมือ (art or craft) และ “logia” หมายถึง สาขาของการศึกษา (area of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว “เทคโนโลยี” จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ

- พจนานุกรมเว็บสเทอรส์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำ “เทคโนโลยี” ไว้ดังนี้

1) ก. การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ

พาณิชยกรรม

ข. องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ

- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของคำ “เทคโนโลยี” ไว้ดังนี้ เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในกาสรนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม

- ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539:76) ได้ให้ความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิตการสร้างและการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง

- กัลเบรท (Galbraith 1967:12) ให้ความหมายว่า “เทคโนโลยี” ไว้ว่า เทคโนโลยีเป้นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ



สรุป

เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์หรือความรู้ด้านอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานอย่างมีระบบ ที่สามารถช่วยการทำงานและสามารถให้งานนั้นออกมาอย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงสุด

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

6. เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร


สหชาติ สรรพคุณ (2550:3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ว่า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

สมร ธราพัน (http://www.novabizz.com/NovaAce/Leaming.com) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทสมีประโยชน์และใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นหลัก

สิริวดี เวทมาหะ (http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/ blogpots_27.html) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และการเผยแพร่สื่อสารข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูปเสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

อาจารย์ประกิต (http://www.bcoms.net/temp/Lesson1.asp) กล่าวว่า ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษาและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศโดยรวมทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสารโทรคมนาคม

(http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/teeh.htm) กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง

1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผลและแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย

-ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)

-ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information system)

-ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

-ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารระดับสูง (Executive Information system)

-ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

(http://www.bcoms.net/temp/it.asp) กล่าว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (IT ย่อมาจาก Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศซึ่งครอบคลุมถึงการรับส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการสืบค้น สารสนเทศในการประยุกต์การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสารและข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมายองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิรฟ์เวอร์คอมพิวเตอร์(คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)



สรุป

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยนและเผยแพร่สื่อสารข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก เพื่อช่วยในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นและบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

7. เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร


สหชาติ สรรพคุณ (2550:21) ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทในการศึกษามีอยู่ว่า

การศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศพัฒนาและแล้วประเทศกำลังพัฒนาโดยให้การศึกษาต่อประชาชนในประเทศด้วยโลกแห่งเทคโนโลยี ซึ่งเน้นไปที่ปัจจัยที่ความรอบรู้ของคนในชาติกับการสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่แหล่งความรู้โลก (World knowledge) เน้นการเรียนรู้ให้ได้มากๆ รวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ต้นทุนต่ำและมีบทบาทที่สำคัญ การปฏิรูปและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้หลากหลาย ดังต่อไปนี้

1. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้จากโลกกว้างสามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีสังคม การดำรงชีวิตของสังคม และชุมชนจากที่ต่างๆ ทั่วโลกได้ทั่วถึงและรวดเร็ว รวมถึงใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นระหว่างกันทำให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้เพิ่มเติมประสบการณ์เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและแข่งขันกับผู้อื่นได้

2. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) เป็นแหล่งหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์เหมือนห้องสมุดในอดีต แต่ได้มีการปรับสื่อที่ใช้ในการเก็บเนื้อหาสิ่งพิมพ์ต่างๆ เหล่านั้นให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเครื่องให้บริการ (server) จัดเก็บรวบรวมหนังสือฐานข้อมูลต่างๆ รวมถึงสามารถให้บริการผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบทางไกลได้ โดยไม่ต้องเดินทางหรือเวลาเข้ามาที่ห้องสมุด

3. ห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom) ผู้เรียนไม่ต้องเดินทางเพียงแต่เดินผ่านเครือข่ายตามกำหนอเวลา เพื่อเข้าห้องเรียนและเรียนได้แม้ที่ไดในโลกนี้

4. การเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic learning) ผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาไว้บนระบบเครือข่ายที่อาจจะเป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่อประสมต่างๆ ส่วนนักศึกษาก็สามารถเข้ามาเรียนได้ตลอดเวลา

5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book) เป็นหนังสือที่ประกอบเนื้อหาความรู้ที่นำมาจากหนังสือที่เป็นเล่ม (กระดาษ) มาแปลงอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถศึกษาและพกพาไปที่ต่างๆ ได้สะดวก โดยอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ในการอ่านหนังสือ

(http://www.vclass.mgt.psu.ac.th/../12-4535013-4535322-chap12.doc) กล่าวว่า บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา มีอยู่ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่

ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide web เป็นต้น

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ

ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมิลผล ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้มมามีบทบาทที่สำคัญ

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทาง

ด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น



สรุป

เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการศึกษา มีดังนี้

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ โดยมีเครื่องมือมาช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสนับสนุนสารรับรู้ข่าวสาร เช่น

-เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

-ห้องเรียนเสมือน

-การเรียนการยอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทสำคัญ

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน อาจใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์ประกอบสำคัญและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

สื่อการสอน คืออะไร

8. สื่อการสอน คืออะไร


ดวงเดือน เทศวานิช (2530:166) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับสื่อสารสอนไว้ว่าสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน สื่อกาสรสอนเน้นผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อการสอนเน้นผู้สอนเป็นผู้ใช้

เปรื่อง กุมุท (2519:10) กล่าวว่า “สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี”

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:112) ได้ให้ทัศนะว่า “สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ไม่พุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อธิพร ศรียมก (2523:64) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงอะไรก็ได้ (ที่ไม่ใช่ครูพูดปากเล่าเพียงอย่างเดียว) ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

กิดานันท์ มลิทอง (2548:100) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุสิ่งเหล่านั้นเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาในเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือ

จุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี



สรุป

สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ที่ใช้เป็นสื่อการเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุสิ่งเหล่านั้น ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้นและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและทำให้ผู้เรียนเรียนตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้เป็นอย่างดี

สื่อประสม คืออะไร

9. สื่อประสม คืออะไร

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523:115) ได้ความหมายว่า “สื่อประสม เป็นการนำสื่อการสอนหลายอย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระในลักษณะที่สื่อแต่ละชิ้นส่งเสริมสนับสนุนกันและกัน”

อีริคสัน (Erickson 1965:11) ได้แสดงความหมายว่า “สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ อย่างมาใช้ร่วมกันอย่างมีความสัมพันธ์ มีคุณค่า และส่งเสริมซึ่งกันและกัน สื่อการสอนอย่างหนึ่งอาจใช้เพื่อเร้าความสนใจ ในขณะที่อีกอย่างหนึ่งใช้เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของเนื้อหาและอีกชนิดหนึ่งอาจใช้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และป้องกันการเข้าใจความหมายผิดๆ การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกันได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น”

กิดานันท์ มลิทอง (2548:102) สื่อประสม หมายถึง การบรรจบกันของเทคโนโลยีระบบ

แอนะล็อกและดิจิทัลในปัจจุบันทำให้ความหมายของสื่อประสม (multimedia) สามารถอธิบายได้เป็น 2 ลักษณะ โดยเป็นความหมายของสื่อประสมแบบดั้งเดิมและสื่อประสมแบบใหม่ที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ดังนี้

สื่อประสมแบบดั้งเดิม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหา

สื่อประสมแบบใหม่ หมายถึง การนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบตัวอักขระภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ “multimedia” ในลักษณะสื่อประสมแบบใหม่จึงใช้อย่างหนึ่งได้ว่า “computer media”

สรุป

สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ อย่างมาสัมพันธ์กันเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้มีคุณค่าและส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นและการใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้ค้นพบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งต้องการจะเรียนได้ด้วยตนเองมากขึ้น

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง


อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง (2545:ไม่ระบุ) กล่าวว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1.รูปแบบหลัก

2. รูปแบบผู้เรียน

3. รูปแบบการปรับตัว

วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา (http://www.images.minint.multiply.multiplycontent.com) กล่าวว่า สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้สืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ทำให้สถาบันการศึกษาหลายแห่งมีการใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอนในระดับชั้นและวิชาเรียนต่างๆ แล้วในปัจจุบัน

ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน

1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที

2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ

- ดูแผนภาพหรือวาดภาพ

- ดูภาพถ่าย ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์

- ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูดหรือฟังเสียงดนตรี

3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน

กิดานันท์ มลิทอง (2540: ไม่ระบุ) กล่าว่า รูปแบการเรียน เป็นการออกแบบระบบที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละคนที่เหมาะสมกับข้อมูลสารสนเทศและเนื้อหาที่นำเสนอ เพื่อการตอบสนองแบบรายบุคคล ซึ่งเป็นหลักสำคัญของสื่อหลายมิติแบบปรับตัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบการเรียนหรือวิธีการเรียนของนักเรียนแบบต่างๆ ได้แก่

Rita Dum และ Ken Dunn (1987) ได้แบ่งแบบการเรียนของนักเรียนออกเป็น 5 แบบ คือ

1. นักเรียนรู้ด้วยการฟัง นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลได้ดีด้วยการฟังและมักใช้การ

พูดโต้ตอบมากกว่าการอ่าน ชอบฟังการบรรยาย การเล่าเรื่อง ชอบฟังเพลง ชอบการอภิปราย ชอบดูภาพ แผนภูมิ แผนภาพ ออเทไนเซอร์แบบกราฟิกจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ นักเรียนกลุ่มนี้ยังเรียนได้ดีจากสี เพราะจะมีความหมายกับพวกเขา

2. นักเรียนที่เรียนด้วยการสัมผัส นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ข้อมูลไดดีด้วยการสัมผัส แตะต้อง เช่น การเขียน การวาดภาพ

3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหว นักเรียนแบบนี้จะรับรู้ของข้อมูลได้ดีด้วยการลงมือกระทำและด้วยการเคลื่อนไหวที่ไปมา นักเรียนจึงชอบกิจกรรมที่มีความและสัมพันธ์กับชีวิต

4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการสัมผัสและการเคลื่อนไหว ต้องการมีส่วนร่วมในการ

ทำกิจกรรม

David Kolb (1981) ได้จำแนกแบบการเรียนเป็น 4 แบบ โดยยึดหลักการเรียนรู้อิงประสบการณ์ ดังนี้

แบบปรับปรุง บุคคลแบบนี้ชอบลงมือปฏิบัติทดลองสิ่งใหม่ ทำงานได้ดี ชอบสร้างสรรค์ ลองผิดลองถูก

แบบคิดเอกนัย บุคคลแบบนี้ต้องการรู้เฉพาะเรื่องที่มีประโยชน์และใช้ได้กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น

แบบดูดซึม บุคคลแบบนี้ชอบการค้นคว้า อ่าน วิจัย และศึกษาอย่างเลาะลึก

แบบอเนกนัย บุคคลแบบนี้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่สุขสบาย

นอกจากรูปแบบการเรียนรู้ที่มีส่วนสำคัญในการออกแบบรูปแบบผู้เรียนในสื่อหลายมิติการปรับตัวแล้วในปัจจุบันไว้ให้ความสนใจกับการแบบคิด ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลในการรับรู้ การจำ การคิด

แบบการคิด สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ฟิลด์ อินดิเพนเดนท์ เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่เป็นอิสระ จากการลวงของภาพที่เป็นพื้นฐานได้มากสามารถวิเคราะห์จำแนกสิ่งเร้าได้ดี ผู้ที่มีแบบความคิดแบบนี้จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อหาสาระส่วนรวม

2. ฟิลด์ ดิเพนเดนท์ เป็นรูปแบบการคิดของบุคคลที่มีลักษณะการคิดวกวน สับสน อันเนื่องมาจากอิทธิพลการลองของภาพที่เป็นพื้น จนขาดการพินิจพิเคราะห์ในสาระที่ได้รับบุคคลแบบนี้จึงมองสิ่งต่างๆ ในภาพรวมได้ดี



สรุป

รูปแบบผู้เรียน (User Model) เป็นการออกแบบระบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และแบบการคิด ซึ่งบ่งบอกถึงคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งทำให้สื่อหลายมิติแบบ

ปรับตัวมีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองผู้เรียนตามความต้องการและระดับความรู้ได้ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบรูปแบบของผู้เรียนจะมีความสามารถในการบันทึกและจดจำผู้เรียน รวมทั้งการปรับระบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้และข้อมูลต่างๆ ของผู้เรียน เมื่อ Login เข้าสู่ระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน

อย่างเหมาะสม